ตอนที่ 2 ต่อจาก ภาคแรก ครับ จะเป็น part ii การบรรยายโดยคุณพรชัย สินธูเจริญ
จาก MTEX ครับ
หลังจากที่ อจ. สมพร บรรยายจบ part i ได้พักเบรกทานกาแฟ อาหารว่าง หลังจากนั้นมาต่อ
part II กับ คุณ พรชัย แห่ง MTEX ที่ PSI ปลุกปั้น ให้เป็นหัวหอกอุปกรณ์งานระบบ SMATV

เริ่มต้น มา ก็ต่อกับ ที่ อจ. สมพร บรรยายไว้ โดยเริ่มที่ เรื่อง จานดาวเทียม รุ่น M3
ที่บอกว่า เป็นจานดาวเทียมสำหรับงานระบบ แต่ดูๆ แล้ว ก็ไม่ได้ต่างจาก จานดาวเทียมอื่นๆนา
มีอะไรบ้าง จาน M3 เป็นจาน ขนาด 1.7 เมตร ไม่ต่างจากจาน D170F เลย
เพียงแต่ว่า ใส่ inner ring ที่ PSI เรียกว่า extra ring ซึ่งจานรุ่นเก่า แต่เดิม ก็มีอยู่แล้ว
แต่ระยะหลัง เอาออกเอง เพื่อลดต้นทุน
ความแข็งแรงของการใส่ inner ring มีแน่ครับ เห็นๆ แต่สิ่งที่ได้ตามมาคือ การที่ผิวจาน
เข้า curve ที่ดีขึ้น เนื่องจากมีการเสริม วงแหวน ชั้นใน ทำให้ การรีด curve ทำได้ดีขึ้น
ทำให้มีส่วนให้เกนจานสูงขึ้น เป็นไปได้ครับ
ปัจจัย ที่ทำให้จานดาวเทียม มีเกนการรับที่ดี คือ
1. ความโค้งของผิวจาน ได้ตามสูตร ที่คำนวนไว้ จากการออกแบบ ว่าจะใช้สูตรไหน
2. Rib หรือ ซี่โครงของจาน และ Inner ring
3. Mesh วัสดุของตระแกรง และ รูตระแกรง
4. feed support ที่ มีความแข็งแรง และ มีสว่นบังสัญญาณน้อยที่สุด
5 . frame หรือ outer ring
ซึ่งมันจะมีผลต่อ ค่า FEC[ Forward Error Correction] ด้วย ถ้ามีค่ามาก จะมีผลต่อภาพ
ทำให้เกิด โมเสค หรือ การหยุดนิ่งของภาพ เนื่องจาก การ error ของข้อมูล ที่ต้องแก้ไข มีค่าสูง

งานนี้ มีพาดพิง ถึงสมาชิก ของ sat answer ด้วย ในเรื่องความแข็งแรงของจาน
ที่ติดตั้งบนตึกสูง ที่มี wind load สูง ภาพขวามือ เป็นรูป ของท่าน V3MATV
สมาชิกคนหนึ่งของเวบ sat answer ที่เก่ง และมีประสบการณ์งานระบบสูงมาก
จนเป็นที่ยอมรับของสมาชิกของบอร์ด sat answer
งานนี้ ไม่มีคอมเม้นท์ ครับ

รู้แต่ว่า ในภาพของท่าน V3MATV เป็นจาน 10 ฟุต แต่ ที่PSI นำมาใช้งานระบบ original 14
เป็นจาน ขนาด 5.5 ฟุต ขนาดต่างกัน เท่าตัวนะนั่น

เมนบอร์ด ของเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม รุ่น MTEX ที่นำมาใช้กับงานระบบ มีฮีตซิ้งค์ที่ CPU เพื่อ
ระบายความร้อน ซึ่งทาง MTEX ยืนยันว่า เครื่องสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง

วงจร double protection ที่ป้องกันไฟกระชาก ที่ส่งผลยังไฟเลี้ยงมีค่าคงตัวควบคุมอยู่ที่
3.3 v และ 1.8 v กินไฟน้อย ทำให้ cpu มีความร้อนเกิดขึ้นในตัวน้อย เนื่องจากมีไอซี 2 ตัว
ที่คอย buffer ไฟ ก่อนเข้า c pu
,,,,,,,,,,จำที่วิทยากร บรรยายมาเล่าต่ออีกที,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,,

EFI Filter ช่วยป้องกันสัญญาณรบกวน เนื่องจาก filter จะทำให้ ระดับสัญญาณ pitch
ยกตัวสูงขึ้นกว่า ระดับของสัญญาณรบกวน ภาพที่ได้จึงมีความชัดเจน
ถ้ามีการรบกวนจาก ความถี่คลื่นแม่เหล็ก เราจะเห็นภา พมีแถบเม็ด snow เป็น แถบ
อยู่กลางจอ




หลังจากนั้น คุณพรชัย มาพูดถึง ตัว active combiner ของ PSI ที่ใช้กับชุด original 14
ที่มีแอมป์ขยายสัญญาณและปรับระดับสัญญาณแต่ละช่องโดยอิสระ สิ่งที่แตกต่างกับคอมไบเนอร์ตัวเก่า คือว่า จะมี ocf module เพื่อกรองสัญญาณเฉพาะช่อง ซึ่งปกติสัญญาณ RF ที่ออกมา จะมีการสร้างความถี่ออกมาหลายค่า ทั้งความถี่พื้นฐานและ
ความถี่ ฮาร์โมนิค ทั้ง ฮาร์โมนิค ที่ 1,2,3 ในระดับสัญญาณที่ลดแอมปลิจูด ตามลำดับ
วงจรกรองสัญญาณเฉพาะช่อง จะกรองสัญญาณฮาร์โมนิคทั้งหลายออก ให้เหลือแค่ความถี่พื้นฐานอย่างเดียว แต่นั่นคือ ฟิลเตอร์ ในอุดมคติ จริงๆ แล้ว ความถี่ที่ไม่ต้องการ ยังกรองออกไม่หมด ยังมีเหลืออยู่ แต่ ว่า ความแตกต่างที่ของระดับสัญญาณ
ที่ออกมา แตกต่างกันถึง 60-70 dB มันจึงไม่สร้างปัญหาให้ระบบ


แต่ต้องไม่ลืมว่า สัญญาณที่ออกมา ยังเป็นสัญญาณที่เราเรียกว่า double side band ที่ทำให้มีข้อจำกัดในการส่ง ที่ไม่สามารถส่งช่องติดกันได้ เหมือนกับ single side band นั่นคือ ถ้าระบบนี้มีการส่งช่องรายการ มากๆ จำเป็นต้องใช้ความถี่ย่านอื่น นั่นคือ UHF แม้ว่า มีการสูญเสียสัญญาณมากกว่า มิฉนั้น ถ้าเกิดการส่งช่องติดกัน สัญญาณ upper side band จะโดนรบกวนจาก lower side band ของช่องที่อยู่ถัดไป

ในการส่งช่องมากๆ นิยม ใช้ มอดดูเลเตอร์ แบบ single side band ที่มีการตัดสัญญาณด้าน lower side band ทิ้งไป เหลือแต่เพียงความถี่ภาพ และความถี่เสียงเท่านั้น ดังนั้น จึงไม่มี สัญญาณ lower side band ไปรบกวน ความถี่เสียงที่เป็น upper side band ของช่องที่อยู่ก่อนหน้า
ต่อไปก็เป็นเรื่องของ การออกแบบการวางไลน์ของการเดินสายในแต่ละจุดของอาคาร
คุณพรชัย แนะนำว่า ไม่ควรเดินสายสัญญาณ แบบเส้นเมนเดียว แบบกระดูกงู
แต่ให้ใช้ สปลิตเตอร์ แยกแบ่งสายเมน ออกเป็นเมนย่อย จะดีกว่า
สิ่งที่ขาดหายไปจากการบรรยายงานระบบทีวีรวม คือ เรื่องของอุปกรณ์แยกสัญญาณ
เช่น สปลิตเตอร์ แทปออฟ เรื่องของสโลป และ การคำนวนความแรงของสัญญาณ
หลังจากนั้น เป็นเวลาที่ต้องหยุด พักทานอาหาร กลางวันกันแล้วครับ
part II ของคุณพรชัย จึงจบการบรรยายเพียงเท่านี้

หลังจากการทานอาหาร อิ่มมาเรียบร้อย อจ.สมพร ได้ขึ้นมาบรรยายอีกครั้ง
โดยคราวนี้จะเป็นเรื่องของการตลาด การขายสินค้า โดยภาพที่เห็นทางขวา
จะเปรียบเทียบว่า ผู้ซื้อ ใช้อะไรในการตัดสินใจ ในการเลือกซื้อ
1. สินค้า ต่างกัน จะเลือกสินค้าที่ดีกว่า
2. ถ้าสินค้าเหมือนกัน จะเลือกร้านที่มีการจัดวางสินค้า ร้านที่หน้าร้านที่ดูดีกว่า
3. ถ้าความแตกต่างของการจัดวางสินค้าในร้านไม่ต่างกัน ลูกค้าจะเลือกร้าน ที่มีความจริงใจ ในการขายและการให้บริการที่ดีกว่า
4. สุดท้าย ลูกค้าจะเลือกซื้อ สินค้าในร้านที่น่าเชื่อถือ และ มี เซอร์วิสมายด์ ที่ดีกว่า

การตลาดที่ปัดฝุ่นมาใช้ใหม่ นั่นคือ บ้านที่มีทำเลที่ดี ที่ติดป้ายแล้วเห็นได้เด่นชัด
PSI จะติดตั้งจาน ให้ฟรี และติดตั้ง ป้าย PSI มีเบอร์โทร ของตัวแทน ที่เสนอสถานที่เข้าไป แต่ ตัวแทนหลายท่าน ที่ติดตั้งจานดาวเทียม ก็ทำตลาดแนวนี้มานาน ตั้งแต่ยุคอนาลอกแล้ว

ตัวอย่างแบบนี้ ติดจานฟรี ติดป้ายให้ แต่ภาษีป้าย ใครจ่าย ?
อจ.สมพร บอกว่า PSI จ่ายเอง ก็น่าสนใจเนาะ
หลังจากนั้น ก็เป็นเรื่องของรถโมบายล์ ที่จะเอาชุด งานระบบ original 14 ติดรถไปด้วย
เพื่อนำเสนอต่อ อพาร์ตเม้นท์ ทั้งหลายที่ประสบปัญหา ทีวีในอาคารไม่ชัด
เสนอทางเลือก ที่ร่วมทุนกับ เจ้าของอาคาร แบ่งรายได้ร่วมกัน แนวทางคล้ายๆ ทรู เหมือนกัน

จากนั้น ก็เป็นเรื่องของ D1.3R ที่ดัดแปลงขาจับใหม่ คล้าย ขาจับของจาน ku
ในแนวคิดที่ว่า น้ำหนักที่เบากว่าจาน ku75 และ ความต้านทานต่อ wind load ที่น้อยกว่า
แต่เกนการรับ ไม่ได้พูดถึงว่า ปรับปรุงอย่างไร เพียงแต่ว่า ติดตั้งง่าย
ไม่ได้พูดถึงเครื่องรับหรือ LNb เลย แต่จากที่เป็น vdo presentation จะใช้งานร่วมกับ เครื่อง O 2
สิ่งที่อยากบอก ข้อสำคัญว่า อย่าลืมว่า จานทั้งสอง ใช้รับกันอยู่คนละระบบ แม้ว่า จาน c band ลดขนาดลง เบาลง ติดตั้งง่ายขึ้น แต่ข้อสำคัญคือ ความแรงของสัญญาณดาวเทียมที่รับได้ แตกต่างกันมากๆ
รุ่น D1.3R ราคายังไม่เคาะออกมา แต่เดาได้ว่า ถูกมากๆ แน่ และราคาต้องเละแน่ๆ
สงสัยออกมาเพื่อรับกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นของผู้ผลิตจานดาวเทียม
การสัมมนางานระบบทีวีรวมในครั้งนี้ ต้องขอขอบคุณ PSI
อจ. สมพร , คุณพรชัย , คุณศุพร และ คุณชัชชัย ผู้จัดการศูนย์สาขาเพชรบุรี
ขอบคุณรถตู้ที่ไปรับ-ส่ง อย่างสะดวกสบาย ขอบคุณผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกท่าน
และสมาชิก sat answer ที่เจอะเจอกัน ท่าน อานนท์ แห่ง ดิจิตอลชอป
ท่านเด็กปั้ม ,ท่านช่างนนทบุรี , ท่านป้อมดาวเทียม และท่านผู้ใหญ่จากเพชรบูรณ์
ขอบคุณครับ
