ข้อมูลลับ ของการส่ง ระบบ Ku band บนดาวเทียมไทยคม
หลักในการออกแบบระบบ DBS-TV [Direct Broadcasting via Satellite-TV]
1. ต้องสามารถประกันการทำงานของระบบให้มีค่า C/N ต่ำสุดเกิดขึ้นในช่วงเปอร์เซ็นต์ของเวลา
ที่กำหนดไว้ เช่น ระบบสื่อสารดาวเทียมระบบหนึ่งถูกออกแบบให้มีค่าความเชื่อถือได้ ( Realiability )
เท่ากับ 99.5 99.99 % นั้น
หมายความว่า C/N สามารถที่จะมีค่าต่ำกว่า C/N ต่ำสุดที่กำหนดไว้เพียง 0.01-0.5 % ในช่วง
เวลาทั้งหมด
2. สามารถส่งผ่านข้อมูล ที่ทำให้ผลกำไรสูงสุด โดยมีต้นทุนต่ำสุด
แต่ ในระบบ Ku band ที่ใช้ส่งในระบบ DBS-TV นี้ จะไม่สามารถออกแบบให้มีความ
เชื่อถือได้ 99.99% เนื่องจากผลกระทบ จาก rain attenuation มีมากกว่า 10 20 dB
ช่วงเวลา Outage ที่นิยมออกแบบสำหรับระบบ Ku band ปกติ มีค่าประมาณ 0.1 0.5 %
ในแต่ละปี หรือประมาณ 8- 40 ชั่วโมง

Outage คือ เปอร์เซ็นต์ ของช่วงเวลาที่ C/N มีค่าต่ำกว่า C/N ต่ำสุด ของระบบที่ออกแบบไว้
Worst month เป็นการเรียกเปอร์เซ็นต์ ช่วงเวลา ที่เกิด outage ในหน่วยเดือน
Rain Attenuation เป็นการลดทอนอันเนื่องมาจากฝน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น และ
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และแตกต่างกันในแต่ละสถานที่
ภาค 9 มาว่า กันเรื่อง จานดาวเทียม แบบ ออฟเซ็ท ดีกว่า
จานดาวเทียม แบบ ออฟเซ็ท พาราโบลอยด์ ถ้าเราไปดู ที่ specification ของ จานแบบนี้ มันมีค่าต่างๆ
ที่แตกต่างจาก จานแบบ พาราโบล่าร์ Center focus นั่นคือ มุม ออฟเซ็ท ( Offset angle ) ,เส้นผ่าศูนย์
กลางด้านสูง ( Diameter long Axis ) และ เส้นผ่าศูนย์กลางด้านกว้าง ( Diameter short axis )
และ ระยะปรับของมุมก้มเงย ( Elevation angle range )
ค่าที่สำคัญ ของ จาน ออฟเซ็ท คือ Offset angle มาดูรูป ของ ท่าน DG มาอีกที

ถ้า จาน offset ที่มีค่า offset angle สมมติ ว่าเป็น 22 องศา ถ้าเราปรับระนาบของจานออฟเซ็ทใน
แนวตั้งฉากกับพื้นโลก ( แนว Vertical ) Lnbf ก็จะอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำกว่าระนาบขอบล่างของจาน
ลำคลื่น ที่สะท้อนออกจาก จาน จะมีค่า เท่ากับ 22 องศา ( Elevation angle 22 degree )
ดังนั้น ถ้า เราต้องการ ใช้ จาน ออฟเซ็ท ใบนี้ รับ สัญญาณดาวเทียม ที่มีมุมก้มเงย
( Elevation angle ) ต่ำกว่า 22 องศา หน้าจานก็จะไปข้างหน้า และก้มลง การที่ใช้ไปรับดาวเทียม
ที่มีมุมก้มเงยต่ำๆ ก็จะทำให้การปรับทำไม่ได้ เนื่องจากขอบล่างของจาน และ ตัว feed support


ดังนั้น ถ้า เราต้องใช้ จานออฟเซ็ท ที่มีค่า offset angle 22 องศา ไปรับสัญญาณดาวเทียมที่มี
มุมก้มเงยต่ำ เราต้องกลับหน้าจานใหม่ ( upside down ) และ ตำแหน่งของตัวฟีด จะอยู่ด้านบนแทน
ทำให้เรา สามารถปรับมุมก้มเงย ได้ถึงมุมก้มเงยที่เป็น 0 ได้



ซึ่ง ตามปกติ จาน ku 75 cm. ของ ทรู วิชั่นส์ จะมีค่า offset angle ประมาณ 30-37 องศา
และ รับสัญญาณ ดาวเทียม Ku band ดาวเทียม ไทยคม 5 ที่มีมุม ก้มเงย ประมาณ 60 องศา
ได้อยู่แล้ว



เราจะเห็น มุมเอียงด้านหลังจาน ( backward tilt ) เท่ากับ 41 องศา
ทำให้ สามารถ รับสัญญาณดาวเทียม ที่ลงมา (หรือ ขึ้นไป) ที่มีมุมก้มเงย 63 องศา สะท้อนหน้าจานเข้า
สู่ฟีดฮอร์นพอดี
ดังนั้น ถ้ามุมเอียงหลังจาน เท่ากับ 68 องศา มุม ก้มเงย ( Elevation angle ) จะเท่ากับ 90 องศา
ดังนั้น เวลาช่างติดตั้ง จาน Ku ถ้าเราเอา ตัววัดมุม แปะ ที่ด้านหลัง ของจาน ขอให้ท่านเข้าใจว่า
ท่านกำลัง วัดค่ามุม ของมุมเอียงด้านหลังของจาน ( backward tilt ) ไม่ใช่มุมก้มเงย ของดาวเทียมที่เราต้องการรับ แต่ ค่าเสกล องศา ที่ตัวคอเมานท์ ของจาน อันนั้น คือ ค่ามุมก้มเงย ( Elevation angle) ที่ผู้ผลิต
เทียบค่าองศา ไว้ให้แล้ว
ดังนั้น ถ้า ช่างติดตั้ง ต้องการวัดค่ามุมก้มเงย ( Elevation angle ) ให้เอาแผ่นไม้เรียบ ทาบที่ตัว
Lnbf (ใช้ผู้ช่วย ช่วยจับไว้ก็ได้ ) และ วางตัววัดมุม ตรงนั้น และ ปรับมุมก้มเงย ค่าที่อ่านได้ จากตัววัดมุม
ตรงนั้น แหละครับ คือ มุมก้มเงย ของดาวเทียม
เรา รู้มาแล้วว่า จาน offset นี้ มีประสิทธิภาพการรับ สูง เนื่องจาก ไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของ
Lnbf และ feed support ไปบดบังหน้าจาน ดังนั้น เวลาที่เรา จะดูสถานที่ ที่จะติดตั้ง จานแบบนี้
ว่า ด้านหน้า ที่รับสัญญาณ มี สิ่งกีดขวาง บังสัญญาณ หรือไม่
ง่าย นิดเดียว ให้ไปยืน ที่ด้านหลัง ของจาน และ เล็ง จากขอบล่างของจาน ไปยัง Lnbf
แนวนั้น ล่ะครับ จะเป็นแนวลำคลื่นสัญญาณดาวเทียมล่างสุด ที่จะตกกระทบหน้า จาน
ในรูป จะเป็น เส้นสีดำ ที่ใกล้ กับ Lnbf นั่นล่ะครับ