ว่ากันด้วยเรื่อง Lnbf Ku band อยากรู้กันมั้ยครับ
LNBF แบบ C/ku ที่อยู่ร่วมในตัวเดียวกัน ดีมั้ยครับ


ข้อดี ของ Lnbf แบบนี้ คือ เมื่อนำไปติดตั้ง กับ จาน แบบ prime focus หรือ จาน C band
นั่นแหละครับ เมื่อเราปรับ รับสัญญาณดาวเทียม ดวงที่ต้องการแล้ว เราจะรับสัญญาณได้ทั้ง C และ
Ku โดยอัตมัติ ควรใช้ กับ จานแบบ fixed และ สัญญาณ Ku ที่แรงเท่านั้น ครับ
ทำไม เหรอ ครับ
เนื่องจาก Lnbf Ku ถูกติดตั้ง ด้านหลังของ lnbf C band ดังนั้น ท่อเวฟไกด์ จะเป็นตัวจำกัดมุม ในการรับ
สัญญาณ ทำให้ Lnbf Ku รับสัญญาณได้น้อยลง กว่าที่ควรจะเป็นมาก หากสัญญาณ Ku มีความแรงพอสมควรก็ไม่เป็นไร แต่ ถ้าหากสัญญาณ Ku อ่อน จะทำให้เกิดปัญหา ได้

นอกจากนี้ ในการรับสัญญาณ ในย่าน C band เอง ก็ยังรับได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เนื่องจาก
ส่วนท้าย ของ Lnbf แบบ c band ปกติ จะปิดตัน ทำหน้าที่เป็น กราวน์เพลน ( Ground plane )
แต่ในกรณี นี้ ส่วนท้าย ของ Lnbf แบบ C band จะถูกเปิดออก เพื่อให้สัญญาณเดินทางไปยัง
Lnbf แบบ Ku band ที่ติดตั้ง ไว้ส่วนท้าย เมื่อไม่มีกราวน์เพลน ประสิทธิภาพ ในการรับสัญญาณลดลงด้วย
Lnbf Dual One cable solution type , Lnbf Ku universal 2 ความถี่
ในการ ที่เราจะต่อสัญญาณดาวเทียม ไปยังเครื่องรับดาวเทียมที่มีมากกว่า 1 เครื่อง Lnbf แบบธรรมดา
จะไม่สามารถดูแบบอิสระได้ ทุกๆคนก็คงทราบอยู่แล้วนะครับ
สำหรับการทำงานของ Lnbf แบบ dual output นั้น วงจรภายใน เปรียบเสมือนมี
Lnbf อยู่ 2 ตัว นั่นเอง
สิ่งที่หลายคน ยังไม่ทราบนั่น คือ ยังมี Lnbf แบบ one cable solution ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ
รับสัญญาณได้ทั้ง แนว ver และ hor ได้พร้อมกัน และสามารถส่งออกมาพร้อมๆกัน ผ่าน output เดียว
โดยใช้สายสัญญาณเพียงเส้นเดียว
โดยหลักการทำงาน เสมือนภายในมี Lnbf อยู่สองตัว โดยแต่ละตัว จะทำหน้าที่ รับสัญญาณ
โพลาร์ไรซ์ เพียงแค่แนวเดียว เช่น Lnb ตัวที่ 1 ถูกตั้งให้รับสัญญาณ ในแนว Hor
ส่วน Lnb ตัวที่ 2 จะตั้งให้รับจากแนว Ver โดยที่ ความถี่ LO. [ Local Oscillator] ของ Lnb ตัวที่ 2
จะถูกปรับให้มีความถี่ต่ำลง จากค่า มาตรฐาน 550 Mhz หรือบางรุ่น จะอยู่ที่ 600 Mhz
ส่วนโปรแกรมความถี่ช่องรายการในเครื่องรับสัญญาณ ในแนว Hor จะถูกตั้งค่าตามปกติ
ส่วนช่องที่ต้องการรับในย่าน Ver จะต้องชิพต์ ความถี่บวกไปอีก 550 หรือ 600 Mhz แล้วแต่ Lnbf ที่เราใช้
ในอดีต นิยมใช้ Lnbf ตัวนี้ มากเพราะแยกอิสระได้ไม่จำกัดเครื่องรับ ไม่ต้องมีอุปกรณ์อื่น เพิ่ม
แต่ว่า ราคาค่อนข้างแพง แต่ในปัจจุบัน ใช้กันน้อยลง เนื่องจาก Lnbf แบบ Dual output ราคาถูกลงมาก
เจาะลึก Lnbf Ku universal ( แบบ 2 ความถี่ ) เอาแบบสุดๆไปเลย
เนื่องจาก ความถี่ย่าน Ku band มีความถี่ใช้งานอยู่ 2 ช่วง แบ่งเป็น low band และ
High band ทั้งนี้เพื่อจัดสรรให้มีการส่งจำนวนช่องรายการได้มากที่สุด โดยที่ความถี่ low band
อยู่ในช่วง 10.7-11.7 Ghz ส่วน high band อยู่ในช่วง 11.7-12.75 Ghz

เราเรียก Lnbf ku แบบนี้ว่า Ku band universal โดยใน Lnbf แบบนี้ จะมี วงจร Local
Oscillator อยู่ 2 ชุดด้วยกัน เพื่อให้รับสัญญาณได้ทั้ง 2 ช่วงความถี่ โดยมีวงจร โทนความถี่ 22 Khz
เป็นตัวควบคุม
ซึ่งความถี่ 22 Khz นี้ จะส่งจากเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม โดยผสมสัญญาณไปกับไฟเลี้ยง
Lnbf หากมีสัญญาณความถี่ 22 Khz สวิทซ์ ที่ควบคุมด้วยความถี่ จะสั่งงานให้ Local Oscillator
ในย่าน high band ทำงาน แต่ หากไม่สัญญาณ 22 Khz ส่งไปที่ Lnbf สวิทซ์ ที่ควบคุมความถี่
จะสั่งงานให้ Local Oscillator ในย่าน low band ทำงานแทน



เราจะเจาะลึกไปยัง วงจร Local Oscillator เนื่องจากเป็นวงจรกำเนิดความถี่ที่มีความถี่สูงมาก
จึงไม่สามารถใช้ X-tal หรือ แร่ควบคุมความถี่อย่างเช่น วิทยุสื่อสาร แต่จะใช้ วงจร L-C Oscillator
โดยมีตัว เรโซแนนซ์ ( Resonance ) ที่เรียกว่า DRO ( Dielectric Resonator Oscillator ) เป็นตัว
ควบคุมความถี่
ซึ่งตัว DRO นี้ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ทำมาจากสาร ที่มีส่วนประกอบของเซรามิค การปรับจูน
ความถี่ จะใช้แรงบีบอัดไปที่แผ่นเซรามิค เพื่อให้โมเลกุล ภายในเซรามิค มีการสั่นตอบสนองตรงกับ
ความถี่ที่เราต้องการ

ขอเสริมเพิ่มเติมข้อมูลให้อีกหน่อย ครับ
ใน Lnbf จะมีการใช้ วงจร ออสซิเลเตอร์ อยู่ 2 แบบ คือ
1. แบบ PLL [Phase Lock Loop ] เป็น Lnb ที่ใช้กับสัญญาณดาวเทียม ที่มีการ มอดดูเลต แบบ QPSK
และมีช่วงการเปลี่ยนแปลงความถี่ 20 Khz เมื่อ อุณหภูมิ มีการเปลี่ยนแปลงในช่วง 40-60 องศาเซลเซียส
2. แบบ DRO [ Dieletric Resonance Oscillator ]
และ จากสาเหตุนี้ ที่ทำให้ วงจร oscillator ใน Lnbf ค่อนข้างเปราะ จึงไม่ควรเปิดฝาออกมา
และ ห้ามทำตกหรือกระแทก เพราะอาจทำให้ ความถี่ของ LO เคลื่อน ซึ่งจะส่งผลให้ความถี่ของช่องรายการเลื่อนตามไปด้วย หากการเลื่อนนี้ เพียงเล็กน้อย +/- ไม่เกิน 2 Mhz จะไม่ส่งผลต่อการรับชม
ซึ่งการใช้งานจริง ความร้อนจากสภาพการใช้งานจริง ก็มีผลทำให้ LO . ผลิตความถี่ที่ผิดเพี้ยนไป
บวกหรือ ลบ 1-2 Mhz อยู่แล้ว
แต่หาก วงจร Oscillator ผลิตความถี่ผิดเพี้ยนไป +/- ถึง 5-10 Mhz ความแรงสัญญาณที่รับได้จากดาวเทียมลดลง ส่วนช่องรายการที่มีสัญญาณอ่อน จะเริ่มรับไม่ค่อยได้
วิธีตรวจเช็คง่าย ๆ คือ ต้องลอง ทำ blind scan แล้วเช็คดูความถี่ ที่แสกนได้ ว่ามีความถี่ผิดเพี้ยนไปหรือไม่