การทำดูโอ , ไทรโอ Duo ,Trio
การรับแบบ duo หรือ trio มีข้อจำกัดอยู่เหมือนกัน ข้อจำกัดที่ว่า คือ ดาวเทียมข้างเคียงที่จะทำ
Duo หรือ trio นั้น จะต้องมีสัญญาณที่แรงพอสมควร เพราะว่า พื้นที่ ที่จะสะท้อนสัญญาณในมุมที่เยื้อง
ทำให้สัญญาณลดลง


เคล็ดลับ ในการ ทำ duo C/ku

เนื่องจาก จานดาวเทียม ที่เรานำมาทำ duo นั้น เป็น จานโปร่ง พาราโบล่าร์ แบบ prime focus
แต่ lnbf Ku ในท้องตลาด ส่วนใหญ่ เป็นแบบ ที่ใช้กับ จานแบบ offset ซึ่ง lnbf ที่ใช้กับจานแบบ
Offset นั้น จะมีช่องเปิดของฟีดฮอร์น ที่บานออก ทำให้ บีมวิดท์ การรับสัญญาณแคบลง
ดังนั้น พอรับเอามาใช้กับ จาน โปร่ง prime focus เราจะรับสัญญาณ ได้แค่ 30-40 % เท่านั้น
ดังนั้น เพื่อการรับ สัญญาณ Ku ที่อ่อน หรือ เพิ่มความแรงของสัญญาณ จากการนำเอา Lnbf Ku
ที่ใช้กับจาน off set มาทำ duo กับ จานโปร่ง เรา สามารถดัดแปลง ท่อเวพไกด์ ได้
มีวิธีทำ ครับ

จากรูป เราใช่ท่ออลูมิเนียม ขนาดเส้นผ้าศูนย์กลาง 19 มม. นำไปติดตั้ง ที่ท่อนำสัญญาณ
ของ Lnbf Ku แบบ offset ส่วนความยาวที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับ คุณสมบัติของ lnbf และมุมในการสะท้อนของจานดาวเทียมที่ใช้
เรียกง่าย ว่า เรา ใช้การปรับท่อเวพไกด์ ของ Lnbf Ku แบบ offset ให้มีการรับบีมวิดท์ ที่กว้างขึ้น
เต็มพื้นที่ของผิวจาน ทำให้ สัญญาณของดาวเทียม สะท้อนเข้าสู่ ฟีดฮอร์น มากขึ้นนั่นเอง
ส่วน ในปัจจุบัน ในท้องตลาด มี lnbf Ku ที่ใช้กับ จานโปร่งแบบ prime focus ออกมาจำหน่ายแล้ว ครับ
จุดที่แตกต่าง ระหว่าง lnbf Ku แบบ offset หรือ แบบ prime focus วิธีสังเกตได้ง่ายที่สุดคือ
Lnbf Ku ที่ใช้กับ จาน prime focus จะมี สกาล่าร์ ริง
