ข้อเปรียบเทียบระหว่างจานดาวเทียม พาราโบลิกแบบ center focus แบบลึกกับแบบตื้น
ในการออกแบบความโค้งของจาน นั้น วิศวกรผู้ออกแบบจะเป็นผู้พิจารณาว่า จะออกแบบ
ให้จาน มีความลึก ความตื้น มากน้อยเพียงใด
จานดาวเทียม พาราโบลิก ที่มีความตื้นกว่านั้น จะมีระยะของจุดโฟคัล ยาวมาก ทำให้ต้องติดตั้ง
Lnbf ห่างจากจุดศูนย์กลางของจาน มากด้วย แต่จาน ที่มีความตื้นนั้น จะทำให้อัตราการขยายของจาน
สูงกว่าแบบลึก เนื่องจาก ฟีด สามารถรับเอาสัญญาณที่สะท้อนจากตัวจาน เข้ามาได้ทั้งหมด
แต่อย่างไรก็ตาม มันก็มีข้อเสียครับ
จานดาวเทียม พาราโบลิก ที่มีความตื้น สามารถรับเอาสัญญาณรบกวนจากพื้นผิวโลกเข้ามาด้วย
สัญญาณที่รับได้จากดาวเทียม จะถูกรวมกับสัญญาณรบกวน ทำให้ เราได้สัญญาณที่รับได้จากดาวเทียม
ลดลงอีก จาน แบบตื้นจะป้องกันสัญญาณรบกวนได้ก็ต่อเมื่อ เรานำไปใช้รับดาวเทียม ที่จุดติดตั้ง


การนำไปติดตั้งกับจานดาวเทียม แบบตื้นนี้ ควรใช้ในพื้นที่ ที่การแทรกสอดของสัญญาณ
( interference ) จากสถานีไมโครเวฟ ต่ำมาก อาจเป็นบริเวณ ที่เป็นชานเมือง เพราะในเมืองมีการ
แทรกสอดของสัญญาณไมโครเวฟสูง
เรามาดู จานดาวเทียม พาราโบลิก แบบลึก บ้างครับ
จะเห็นว่าตัว Lnbf จะติดตั้งไว้เกือบอยู่ในระนาบเดียวกับขอบของจาน จานแบบนี้ จะป้องกันสัญญาณรบกวนจากพื้นโลก และ สัญญาณแทรกสอดจากสถานีไมโครเวฟ
แต่ข้อเสียก็คือ เมื่อตัว Lnbf อยู่ใกล้กับ ระนาบของขอบจานมาก ทำให้ Lnbf ไม่สามารถรับเอา
สัญญาณดาวเทียมที่สะท้อนจากผิวจาน ได้ทั้งหมด นั่นคือ สัญญาณที่สะท้อนจากขอบจานและส่วนที่ใกล้ขอบจานไม่สามารถพุ่งเข้าหา lnbf ได้ทั้งหมด ผลที่ตามมาคือ อัตราขยายของจานชนิดนี้ จะมีค่าต่ำกว่าจานแบบตื้น
เราจะรู้ได้อย่างไร ว่า จานดาวเทียม ตัวไหนเป็นแบบ ลึก หรือแบบตื้น
จะบอกให้ครับ เราดูที่ค่า F/D ครับ จานที่มีความลึก จะมีค่าอัตราส่วน F/D อยู่ในช่วง 0.25-.035
ส่วนจานดาวเทียแบบตื้น ค่า F/D จะอยู่ในช่วง 0.4-.05
แต่ส่วนใหญ่ โรงงานผู้ผลิต จะผลิตจานดาวเทียม ที่มี อัตราส่วน F/D อยู่ในช่วงกลางๆ คือตั้งแต่
0.36-0.375
