ReadyPlanet.com


"คลื่นรบกวน"ดิจิทัลทีวี(1) ยัง"ตอบโจทย์"ไม่ได้อีกหลายข้อ คิดใหม่ วันอาทิตย์ อดิ


"คลื่นรบกวน"ดิจิทัลทีวี(1) ยัง"ตอบโจทย์"ไม่ได้อีกหลายข้อ โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

         ความไม่นิ่งของเงื่อนไขประมูลคลื่นความถี่ "ดิจิทัลทีวี" ที่ยังถูก "คลื่นรบกวน" เข้ามาเป็นระยะๆ

ทำให้เกิด "คำถาม" อีกมากมาย ที่ "ผู้เล่นรายใหม่" ส่วนใหญ่อยากจะขอ "ความชัดเจน"

จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) ให้หายข้องใจ

 ก่อนจะใส่สูตรคำนวณว่า ควรจะสู้ราคาประมูลช่องดิจิทัลทีวี 24 ช่องได้สักเท่าไหร่

ปัจจัยความเสี่ยงมากที่สุดในการทำธุรกิจคือ "ความไม่แน่นอน" ที่ไม่สามารถควบคุมได้

 ในขณะที่ "ภาระต้นทุน" หรือ "ตัวเลขประมูล" กลับเป็นตัวเลขที่ยังอยู่ในวิสัยสามารถบริหารจัดการได้

 ไม่ถือเป็น "ปัจจัยเสี่ยง" ที่เป็นต้นทุนสูงสุดในการตัดสินใจ คลื่นความถี่ที่รบกวนเกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 11 มี.ค.

 คณะอนุกรรมการของกสท.ชุด ดร.ธวัชชัย ภาษจิตนันท์ ได้เชิญผู้ประกอบการที่มีความสนใจ

จะเข้าร่วมประมูลช่องดิจิทัลทีวีไปรับฟัง ผลการศึกษาการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ช่องรายการดิจิทัลทีวี

 ของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย แต่ปรากฏว่ากลับกลายเป็น

ต้องไปแสดงความเห็นมติของ กสท. ล่าสุดที่ "ปรับสูตร" จำนวนช่องในแต่ละประเภทช่องดิจิทัลทีวี

โดยไม่มีการเปิดเผยตัวเลขการประเมินมูลค่า ช่องดิจิทัลทีวี และ ค่าโครงข่ายที่เป็นตัวเลขต้นทุน

ที่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจว่า จะประมูลหรือไม่ สูตรเดิม ช่องรายการเด็ก SD 5ช่อง,

ช่องรายการข่าว SD 5 ช่อง, ช่องรายการวาไรตี้แบบ SD 10 ช่อง และช่องรายการวาไรตี้แบบ HD 4 ช่อง

หรือสูตร 5-5-10-4 ที่ยังไม่มีข้อยุติเงื่อนไขเพดาน 2 ช่อง (CAP2) ที่ห้ามช่องข่าวกับช่องวาไรตี้จับคู่กัน

ในทุกกรณีหรือเพดาน 3 ช่อง (CAP3) สูตรใหม่ ช่องรายการเด็ก SD 3 ช่อง, ช่องรายการข่าว SD 7 ช่อง,

ช่องรายการวาไรตี้แบบ SD 7 ช่อง และช่องรายการวาไรตี้แบบ HD 7 ช่อง หรือสูตร 3-7-7-7

ที่มีข้อยุติเงื่อนไขห้ามช่อง HD วาไรตี้ จับคู่ช่อง SD ข่าว แต่ไม่ห้ามจับคู่ช่อง HD วาไรตี้ กับ ช่อง SD วาไรตี้

หรือ ช่อง SD ข่าวกับช่อง SD วาไรตี้และสามารถถือครองได้ 3 ช่อง สูตรใหม่น่าจะทำให้ "ผู้เล่นเก่า"

ช่องฟรีทีวี 3 ช่อง (ช่อง 3 ช่อง 7 และอสมท.) ที่มีความพร้อมประมูลสูตร 3 ช่อง คือ ช่อง HD วาไรตี้ ,

 ช่อง SD วาไรตี้, ช่อง SD เด็ก รักษาพื้นที่สำหรับหารายได้ลอยลำอยู่ใน "เกมเดิม" สนามใหม่ได้ไปจนกว่า

จะผ่านพ้นไปถึงวันยุติการออกอากาศแบบอะนาล็อก ส่วนช่อง 5, ช่อง 11 และช่องไทยพีบีเอส

ได้ถูกออกแบบ "จัดวาง" ไว้ในกลุ่มประเภทช่องทีวีสาธารณะ 3 ประเภทที่เป็น "ทีวีสาธารณะ"

แบบหัวมังกุท้ายมังกร ช่อง 5 จัดอยู่ในประเภทที่ 2 เพื่อความมั่นคงสามารถโฆษณาได้

 แต่หารายได้แบบกำไรพอเพียง และในประเภทนี้อาจจะมี "ช่องใหม่" เกิดขึ้นได้ขอให้จับตาดีๆ

เช่น ช่องตำรวจ ฯลฯ ส่วนช่อง 11 มีที่ยืนชัดเจนว่าอยู่ในประเภทที่ 3 ที่เป็นช่องทีวีสาธารณะ

ของรัฐเพื่อสื่อสารทำความเข้าใจกับประชาชน ซึ่งคงจะทำให้ "ทีวีรัฐสภา"

 ที่ปัจจุบันอยู่ในระบบ "ทีวีดาวเทียม" มีที่ยืนชัดเจนอีก 1 ช่อง



ผู้ตั้งกระทู้ preecha :: วันที่ลงประกาศ 2013-03-17 13:04:28


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3308584)

                   ในขณะที่ช่องไทยพีบีเอสที่ยัง "ตอบโจทย์" ตัวเองไม่ได้ว่า

ทำไมไปห้ามรายการตอบโจทย์ประเทศไทยเมื่อคืนวันที่ 15 มี.ค.

ออกอากาศกะทันหัน เท่าที่ได้รับการยืนยันออกมาจาก กสท.

จะได้รับการจัดสรรให้ออกอากาศถึง 2 ช่อง ในระบบ SD และ HD

 เพราะมีข้อตกลงยินยอมคืนคลื่นความถี่ปัจจุบันที่ออกอากาศระบบอนาล็อก ในอีก 3 ปีข้างหน้า

ให้กสท. ช่องทีวีสาธารณะกำหนดไว้ 12 ช่อง มองเห็นหน้าเห็นช่องก้อนแล้วตอนนี้คือช่อง 5,

ช่อง 11, TPBS 2 ช่อง และ ทีวีรัฐสภา รวม 5 ช่อง ที่เป็นทีวีสาธารณะแบบ "พันธุ์ทาง-ลูกผสม"

ที่ไม่เหมือนกันเลยและไม่ใช่ "ทีวีสาธารณะ" แบบไทยพีบีเอสที่ถูกออกแบบ

ให้ปลอดจากอำนาจรัฐในระดับหนึ่ง แต่ทีวีสาธารณะแบบช่อง 5, ช่อง 11

 และทีวีรัฐสภาคือ "ทีวีสาธารณะของรัฐ" เต็มรูปแบบ ส่วนอีก 7 ช่องที่เหลือ

พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธานกสท. ได้ยอม "ถอยหนึ่งก้าว"

ให้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ว่าจะออกแบบ "ทีวีสาธารณะ"

 เป็นช่องแบบไหนบ้าง ซึ่ง กสทช. อีกคนหนึ่ง คือ อาจารย์สุภิญญา กลางณรงค์

ที่ได้ต่อสู้เรื่องช่องทีวีสาธารณะมาอย่างเข้มข้น ได้รับการ "ชดเชย" ช่องรายการเด็ก

ในประเภทธุรกิจที่ถูกลดลงจาก 5 ช่อง เหลือ 3 ช่อง มาไว้ใน "ช่องทีวีสาธารณะ"

เพื่อเด็ก-เยาวชน-คนพิการ 2 ช่อง

                    พื้นฐานความรู้ของ พ.อ.ดร.นที ที่จบวิศวกรรมสาขาไฟฟ้า

น่าจะทำให้ "ดร.น้ำ" (ชื่อเล่น) สามารถ "ออกแบบ" การประมูลดิจิทัลทีวีไ

ด้หลายสูตร แบบเดียวกับสูตรไฟฟ้าหลายๆ ระบบตามความต้องการของทุกฝ่ายได้

 จนเป็นที่มาของ "สูตรใหม่" ล่าสุดที่ทำให้บรรยากาศการประชุมของ กสท. 5 ท่าน

 เริ่มจะปรากฏ "รอยยิ้ม" เพราะทุกคนได้ในสิ่งที่ตัวเองยืนหยัดมาส่วนหนึ่ง

แลกบางส่วนกับยอมสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ยืนหยัด หรือเห็นด้วยอยู่แล้ว ดร.ธวัชชัย

ได้ในสิ่งที่ทีมที่ปรึกษาเสนอว่า ควรจะเพิ่มจำนวนช่องรายการแบบ HD

 เพราะในทางเทคนิคแล้ว ยังมีช่วงความถี่เหลือเพียงพอให้ออกอากาศในระบบ HD ได้แล้ว

 ระบบนี้เป็นแนวโน้มใหญ่ทั่วโลก แต่ไม่ได้ตามที่เคยเสนอว่า กำหนดเพดานไม่เกิน 2 ช่อง

โดยยังได้เงื่อนไขเพียงครึ่งเดียวกับที่เคยเสนอ คือการห้ามช่องวาไรตี้ HD

ถือครองช่อง SD ข่าว แต่ไม่ได้ห้ามช่อง SD วาไรตี้ถือครองช่อง SD ข่าว

และไม่ได้ห้ามช่อง HD วาไรตี้กับช่อง SD วาไรตี้จับคู่กันที่สามารถทำเป็นช่องข่าวก็ได้

 อาจารย์สุภิญญา ได้ในสิ่งที่ตัวเอง และเครือข่ายปฏิรูปสื่อกับองค์กรพัฒนาเอกชนต่อสู้

 คือทีวีสาธารณะและทีวีชุมชนที่ ดร.นที ยอมชะลอไม่เร่งรัดให้ยื่นคำขอ ยังมีเวลา "ออกแบบ"

 ให้ได้โมเดลใกล้เคียงกับ "อุดมคติปฏิรูปสื่อ" ให้มากที่สุด ดร.นที ได้ในสิ่งที่ตัวเอง "เชื่อ"

ว่าจะดีและจะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจนี้ให้แข็งแรงในอนาคต คือ "รายใหญ่"

ที่มีประสิทธิภาพและเงินทุนสามารถถือครองได้ 3 ช่อง คือ ช่องวาไรตี้ 2 ช่อง

และช่องเด็ก 1 ช่อง ช่องวาไรตี้ถูกออกแบบมาให้มีผังข่าว-สาระอย่างน้อย 25 %

 แต่สามารถผลิตได้มากกว่านี้ที่ไม่น่าจะมีใครขัดข้อง "ผู้เล่นรายเก่า" ฟรีทีวีทุกช่องมองเห็น

 "พื้นที่" ของตัวเองใน "เกมใหม่" สนามดิจิทัลแล้ว

มองเผินๆ ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกันมากนัก แต่ยอมให้เป็นไปตาม "อัตภาพ"

หรือ "ศักยภาพ" เงินทุน" และ "บุคลากร" ในการผลิตและบริหารช่องดิจิทัลทีวีที่มีคู่แข่งขัน

"รายใหม่" เข้ามา "ผู้เล่นรายใหม่" แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ประกอบการช่องทีวีดาวเทียม

และ Content Provider กับกลุ่มผู้เล่นใหม่ ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการธุรกิจนี้มาก่อน

 ที่ได้เปิดตัวมาแล้ว 2-3 ราย เช่น กลุ่มอินทัช ฯลฯ สูตรใหม่น่าจะทำให้ "ผู้เล่นรายใหม่"

 ช่องข่าวลดแรงกดดันในการแข่งขันประมูลลดลงไปได้มาก การเพิ่ม "ช่องข่าว"

 จาก 5 ช่องเป็น 7 ช่องที่มี "กำแพง" ไม่ให้ช่องฟรีทีวีรายใหญ่ 3 ราย

โดดข้ามมาแข่งได้ และยังเปิดทางให้เข้าไปในลู่ช่อง SD วาไรตี้ที่คงมีราคาประมูลเพิ่มขึ้น

 เพราะลดจำนวนช่องจาก 10 ช่อง เหลือ 7 ช่อง

ควรจะถือเป็นการ "ปิดปาก" พวกช่องข่าวที่ "เสียงดัง" ทุกครั้งในวงประชุมแบบ Focus Group

 และประชาพิจารณ์หรือเปล่า ในขณะที่ "ผู้เล่นรายใหม่" ในกลุ่มบันเทิง

 ที่มีความสนใจช่องรายการแบบ HD น่าจะ "โล่งอก" ที่มีช่อง HD เพิ่มจาก 4 ช่องเป็น 7 ช่อง

อย่างน้อยที่สุดปล่อยให้ฟรีทีวี 3 ช่อง "จอง HD" ไปแล้ว ยังเหลืออีก 4 ช่อง HD

 กับ 4 ช่อง SD วาไรตี้ที่จับคู่ได้ ถ้าต้องการถือครอง 2 ช่อง ที่คงมีอยู่หลายราย

 ผู้เล่นรายใหม่ในกลุ่มช่องเด็ก ที่มีอยู่ไม่มากเท่ากับประเภทอื่นๆ น่าจะตกที่นั่ง "ลำบาก"

ที่สุดและจะไม่มีกำลังประมูลเพื่อ "ถือครอง" ช่องดิจิทัลสำหรับเด็ก เสมือนถูก "รังแก"

ลดจำนวนช่องจาก 5 ช่อง เหลือ 3 ช่อง ทำให้จะเกิดการแข่งขันในการประมูลราคากันมาก

ถ้าหาก "ผู้เล่นรายเก่า" กับ "ผู้เล่นรายใหม่" ที่เป็นรายใหญ่หมายตา "ช่องเด็ก"

พร้อมๆ กัน แม้ว่าราคาเริ่มต้นจะต่ำไม่เกิน 100 ล้านบาท

 แต่อาจจะมีการเสนอราคาแข่งขันกันเพิ่มมากกว่า 3-4 เท่าตัว กสท.

ยังตอบคำถามไม่ชัดเจนว่า ทำไมไปลดจำนวนช่องเด็กลง ทำไมไปคิดเอาเองว่า

ช่องเด็กได้รับความสนใจน้อยกว่าประเภทอื่น ทำไมบอกว่าจะให้ไปใช้โควต้าช่องทีวีสาธารณะ

ที่ไม่สามารถโฆษณาได้ ผมขอเสนอทางออกเพื่อลดแรงกดดันการลดจำนวนช่องเด็กลง

 ควรจะไปกำหนดลงไปในรายละเอียดให้ผังรายการช่องวาไรตี้ HD และ SD

ทั้ง 14 ช่องที่กำหนดให้มีสัดส่วนผังรายการอย่างน้อย 25 %

เป็นข่าวและสาระให้เป็นรายการสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 12 ปีอย่างน้อย 50 %ของสัดส่วนนั้นๆ

เงื่อนไขการประมูลและข้อกังขาของ"ผู้เล่นรายใหม่"ยังมีอีกหลายข้อ

เช่น สูตรใหม่นี้มาได้อย่างไรทำไมเพิ่มช่อง HD เยอะมากๆ ,

ทำไมกสท.ไปเพิ่มความได้เปรียบของ"ผู้เล่นรายเก่า"ที่ได้ลงสนามจริง

ออกอากาศจริงในช่องดิจิทัลทีวีไปจนกว่าจะประมูลเสร็จสิ้น,

ทำไมไปลดช่องรายการเด็กลง , ทำไมค่าโครงข่ายที่มีตัวเลขเบื้องต้นออกมา 40-60 ล้านบาทต่อปี

ต้องมีค่าดาวเทียมเพื่อ Must Carry ไปทุกโครงข่ายแต่กลายเป็นต้นทุนของ"ผู้เล่นรายใหม่"

เสียมากกว่า, สมมุติฐานการคำนวณราคาประมูลขั้นต่ำมีอะไรบ้าง

 ฯลฯ สูตรประมูลดิจิทัลทีวีแบบ 3-7-7-7 อาจจะ "ตอบโจทย์" กรรมการกสท. 3 คนหลักได้ในระดับหนึ่ง

แต่ยังไม่ "ตอบโจทย์" ผู้เล่นรายใหม่ที่ยังมีข้อกังขา "สูตรใหม่"

ยังมีอีกหลาย "คำถาม" ที่ยังไม่ได้คำตอบจากกสท.ที่กำลังกลายเป็น "ความเสี่ยง"

จาก "ความไม่แน่นอน" ในเงื่อนไขการประมูลที่ดูเหมือนว่า "ผู้เล่นรายเก่า"

กำหนดเกมหรือกำหนดสูตรเพื่อรักษาพื้นที่ทำเงินให้ตัวเองมากกว่า

การกำหนดเกมกติกาสนามใหม่ เพื่อให้ผู้เล่นรายเก่ากับรายใหม่

อยู่บนกติกาใหม่แบบเดียวกันตั้งแต่เป่านกหวีดออกวิ่ง

ผู้แสดงความคิดเห็น preecha วันที่ตอบ 2013-03-17 13:05:25



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.
แสงทองโทรทัศน์ จำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า และจานดาวเทียม จ.เพชรบุรี โทรศัพท์ 032-437117 , 032-461453 , 085-9746-444