![]() |
|
สงครามแพลตฟอร์ม (1) CTH ก้าวสู่เสาหลักเคเบิล...คิดใหม่ วันอาทิตย์ อดิศักดิ์ ลิมปรุงพัฒนกิจ | |
ภาพยนตร์ Mission Impossible ทั้ง 4 ภาค มักจะเริ่มต้นด้วยการบอก
"ปฏิบัติการสุดยาก" ให้กับสายลับ "อีธาน ฮันท์"
ที่แทบไม่มีโอกาสของความสำเร็จ แต่ภาพยนตร์ชุดนี้มักจะจบลงด้วยความสำเร็จของสายลับ "อีธาน ฮันท์" ที่มีทั้งความเก่งและเฮง อาศัยจังหวะและโอกาสเพียงเสี้ยววินาทีที่สามารถพลิกเกมเอาชนะศัตรูได้ในที่สุด
ชัยชนะของบริษัท เคเบิลไทยโฮลดิ้ง จำกัด (CTH ) ที่ได้ลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกมา 3 ปี ครอบคลุม 3 ประเทศ คือ ไทย ลาว และ กัมพูชา แม้ว่าต้นทุนจะสูงเป็นประวัติการณ์กว่าหมื่นล้านบาท แต่น่าจะเป็น "หน้าต่าง" เดียวที่เปิดในจังหวะพอเหมาะพอดีที่แผนธุรกิจของ CTH อยู่ในช่วงต้องตัดสินใจว่าจะเดินหน้าไปในแนวทางไหน
"วิชัย ทองแตง" เป็นนักธุรกิจที่มีสัญชาตญาณกล้าเสี่ยงแบบ High Risk , High Return ที่ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จจนกลายเป็นนักธุรกิจที่มีพอร์ตลงทุนหลายพันล้านบาทและยังเข้าไปลงทุนถือหุ้นใหญ่ในหลายๆ กิจการที่
ส่วนใหญ่มีผลตอบแทนสูง
การตัดสินใจของ "วิชัย" ในวินาทีที่ต้องเสนอตัวเลขรอบที่ 2 จึงมาจาก "สัญชาตญาณ" แบบกัสท์ฟิลลิ่งล้วนๆ ว่าถ้าไม่กล้าเพิ่มตัวเลขขึ้นไปเพื่อให้เหนือกว่ารายที่ 2 (ที่น่าจะเป็นแกรมมมี่) ประมาณ 30% ก็จะเหนื่อยและเครียดขึ้นไปอีกในการประมูลรอบที่ 3 ตัวเลขคร่าวๆ กว่าหมื่นล้านบาทน่าจะเป็นการตัดสินใจเทหมดหน้าตักของวิชัยและพันธมิตรอย่างทายาทไทยรัฐ เพื่อช่วงชิงโอกาสที่เสมือน"หน้าต่าง" ที่เปิดเพียงแวบเดียว
ถ้าสายลับ อีธาน ฮันท์-วิชัย ทองแตง ไม่กระโจนเข้าไปคงไม่มีหนทางจะดันให้ CTH ผงาดได้ในระยะเวลาสั้นๆ คงต้องเหนื่อยอีกนานมากและยากยิ่งกว่าเดิมในการรวมเคเบิลทีวีท้องถิ่นให้เป็นหนึ่งเดียวตามภารกิจเดิมในการก่อตั้ง CTH
ภารกิจของ บริษัท เคเบิลไทยโฮลดิ้ง จำกัด ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งที่มีผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นมารวมตัวลงขันกันมากกว่า 120 บริษัท ถือเป็นภารกิจแบบ Mission Impossible ที่กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ ต้องผ่านการต่อสู้แบบลองผิดลองถูกมาหลายครั้ง เพื่อทำให้ "เคเบิลทีวีท้องถิ่น" มีความเป็นปึกแผ่นที่ถือเป็นภารกิจที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาตลอดกว่า 20 ปี ของการก่อตั้งสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ในการก้าวไปสู่ One Network ภาคพื้นดินเพื่อทำให้เป็นโครงข่ายที่มีเสถียรภาพมากที่สุดเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มแบบอื่น | |
ผู้ตั้งกระทู้ preecha :: วันที่ลงประกาศ 2012-12-02 12:50:08 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (3303931) | |
ผมจึงขอยกมือสนับสนุนเอาใจช่วยอย่างเต็มที่ ขอให้ประสบความสำเร็จ เพราะโครงข่ายภาคพื้นดินถือเป็น "ความมั่นคงของชาติ" อีกแบบหนึ่ง และเป็นหน้าเป็นตาของประเทศเยี่ยงอารยประเทศที่ล้วนแต่มีโครงข่ายภาคพื้นดินเป็นฐานรากหญ้าสำคัญ ประวัติศาสตร์การรวมตัวกันของ "เคเบิลทีวีท้องถิ่น" ในรูปแบบ "บริษัท" ที่ควรบันทึกไว้ น่าจะมีอยู่ 2 บริษัท ที่ไม่ถือว่าล้มเหลว แต่เป็นบทเรียนให้ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นจดจำ ก่อนจะมาถึงบริษัท เคเบิลไทยโฮลดิ้ง จำกัด (CTH ) ที่กำลังจะเป็น "เสาหลัก" ของเคเบิลทีวีท้องถิ่นที่มีโอกาสความสำเร็จอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมเมื่อชนะประมูลลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกครอบคลุมประเทศไทย ลาวและกัมพูชา อย่างพลิกความคาดหมาย แม้ว่าจะมีมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านบาท แต่มองยาวๆ แล้วน่าจะคุ้มค่าการลงทุนเพื่อให้เคเบิลทีวีท้องถิ่นเป็น "ปึกแผ่น" และเป็น "แพลตฟอร์ม" หรือโครงข่ายภาคพื้นดินที่มีเสถียรภาพมากกว่าแพลตฟอร์มดาวเทียมหรือแม้กระทั่งดิจิทัลทีวี เริ่มจากบริษัทไฮเทคที่เสมือนเป็น "บริษัทกลาง" หรือ "โฮลดิ้ง" ที่เถ้าแก่เคเบิลท้องถิ่นลงขันตั้งบริษัท เพื่อลงทุนเปิดเคเบิลทีวีท้องถิ่นในหลายๆ พื้นที่ ที่มีการแข่งขันสูงเพื่อลดการแข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ซึ่งในปัจจุบันบริษัทไฮเทค ได้กลายเป็นบริษัทเคเบิลขนาดใหญ่ในเขตรอบนอกกรุงเทพมหานครฝั่งทิศเหนือ บริษัทที่ 2 คือ บริษัท ไทยแลนด์ เคเบิลทีวี (TLC) ที่เป็นแนวคิดในสมัยนายกสมาคม "บำรุง" ชักชวนเพื่อนผู้ประกอบการเคเบิลที่มีการผลิตข่าวท้องถิ่นให้เข้ามาถือหุ้น แล้วส่งข่าวเข้ามาในถังข่าวเพื่ออัพลิงค์กลับขึ้นไปผ่านระบบ IPSTAR เพื่อให้เคเบิลทีวีท้องถิ่นรับช่องนี้ไปเป็นช่องข่าวท้องถิ่นขนานแท้ที่มีผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นเข้าร่วมมากกว่า 36 บริษัท ชัยชนะของ CTH ที่ได้ลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ถือเป็นการเปิด "สงครามแพลตฟอร์ม" อย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงเวลาสำคัญที่สุดของอุตสาหกรรมบรอดแคสติ้งไทย ที่มีปัจจัยแวดล้อมเกื้อหนุนพร้อมๆ กันหลายปัจจัย อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในรอบ 50 ปีของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทย | |
ผู้แสดงความคิดเห็น preecha วันที่ตอบ 2012-12-02 12:51:30 |
ความคิดเห็นที่ 2 (3303932) | |
Regulator อย่าง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กำลังเดินหน้า "จัดระเบียบ" อุตสาหกรรมนี้ ด้วยการออกใบอนุญาตกิจการโทรทัศน์ในหลายๆ ประเภท เช่น โครงข่าย, สิ่งอำนวยความสะดวก, ช่องรายการ, กล่องรับสัญญาณ และกำลังจะก้าวไปสู่การประมูลดิจิทัลทีวีครั้งแรกในช่วงต้นปีหน้า จังหวะนี้เป็นของ CTH ที่มีความพร้อมในการยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการแบบโครงข่ายเพื่อรองรับการให้บริการ "เคเบิลทีวีระดับชาติ รายที่สอง ที่เริ่มต้นอย่างอึกทึกครึกโครม ด้วยการเอาชนะเหนือกว่าเคเบิลระดับชาติรายเดิม" "ทรู วิชั่นส์" ที่ถือลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกมายาวนานกว่า 15 ปี ที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ฐานสมาชิกของ ทรู วิชั่นส์ ขยายตัว สถานการณ์เคเบิลทีวีท้องถิ่น กว่า 500 สถานีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้ถูก "ทิ้งระเบิด" จากจานดาวเทียมที่เติบโตหลายเท่า จนทำให้อัตราการเติบโตของเคเบิลทีวีท้องถิ่นอยู่ในสภาพหยุดนิ่ง ไม่มีการเติบโต และยังถูกคู่ปรับตัวฉกาจอย่าง ทรู วิชั่นส์ ใช้ "สงครามราคา" จัดแพ็คใหม่ลดค่าสมาชิกลงเหลือแค่ 300 บาท เท่ากับเคเบิลทีวีท้องถิ่น นอกจากนี้แล้ว แนวคิด "รวมโครงข่ายภาคพื้นดิน" ของกระทรวงไอซีที กำลังได้รับการรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ผมเคยคุยกับรัฐมนตรี "อนุดิษฐ์ นาครทรรพ" ได้มองเห็นว่ารัฐมนตรีไอซีทีมีความเชื่อมั่นในโครงข่ายภาคพื้นดินมากกว่าโครงข่ายบนจานดาวเทียม หรือคลื่นความถี่ ที่ไม่มีความมั่นคงเพียงพอ ความสิ้นเปลืองในการแข่งขันวางโครงข่ายภาคพื้นดินของ 5 หน่วยงานหลัก คือ บริษัท ทศท จำกัด (มหาชน), บริษัท กสท จำกัด (มหาชน), การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค, การไฟฟ้านครหลวง ได้ทำให้ประเทศไทยมีโครงข่ายภาคพื้นดินที่ใช้งานไม่เต็มที่ น่าจะใช้งานจริงๆ ประมาณ 20-30% เท่านั้น ถ้า CTH สามารถก้าวข้าม "ความไร้ประสิทธิภาพ" ของระบบราชการ แล้วสามารถ "ต่อสาย" เข้าไปใช้ "โครงข่ายหลักภาคพื้นดิน" จาก 5 หน่วยงานหลักได้ในเวลารวดเร็ว เพื่อให้ไปถึง "บ้านสมาชิก" เคเบิลท้องถิ่น หรือ Last Mile หน้าบ้านทุกบ้านที่ยังเข้าไปถึงอีกนับสิบล้านครัวเรือน โอกาสในการก้าวกระโดดจำนวนสมาชิกของเคเบิลทีวีท้องถิ่น จากประมาณ 2.5-3 ล้านครัวเรือนไปอีกเท่าตัว ตามเป้าหมายของ CTH ไม่น่าจะเป็น Mission Impossible ที่เป็นไปไม่ได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ของสายไฟเบอร์ออปติคที่มีราคาถูกลงน่าจะทำให้ CTH ลงทุนเพิ่มเติมไม่มากนัก ในการลากสายไปจ่อหน้าบ้านคนไทยให้มากที่สุด เพื่อสร้างโอกาสในการตัดสินใจเปลี่ยนจากจานดาวเทียมมาเป็นสมาชิกเคเบิลทีวีท้องถิ่นได้ไม่ยากเหมือนแต่ก่อนที่ไม่มีลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก | |
ผู้แสดงความคิดเห็น preecha วันที่ตอบ 2012-12-02 12:52:39 |
ความคิดเห็นที่ 3 (3303933) | |
ผู้ประกอบการเคเบิลทีวี น่าจะกำลังมองหา "เสาหลัก" เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน, โครงข่ายภาคพื้นดินที่เป็นแบ็คโบนพร้อม, กล่องรับสัญญาณ 3 ล้านกล่อง ถูกเคเบิลทีวีท้องถิ่นจองไว้หมดแล้ว การมาของ CTH พร้อมกับลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกในอีก 3 ปีข้างหน้า จึงเป็นการก้าวมาอย่าง "ถูกจังหวะ ถูกเวลา" ในช่วงที่เคเบิลทีวีท้องถิ่นกำลังจะได้ใบอนุญาตประกอบกิจการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เสมือนเป็น "เสาหลัก" ให้เคเบิลทีวีท้องถิ่น "ร้อยโครงข่าย" ทั่วประเทศ ให้มาเป็น "โครงข่ายหนึ่งเดียว" สามารถสู้กับการขยายตัวของจานดาวเทียมและการเล่น "สงครามราคา" ของ ทรู วิชั่นส์ ที่มุ่งเจาะฐานรากหญ้าในต่างจังหวัดที่ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกเคเบิลทีวีท้องถิ่น และยังยกระดับจากเคเบิลทีวีท้องถิ่นที่ให้บริการแบบเดียวกับช่องรายการโทรทัศน์แบบอนาล็อก มาเป็น" ทริปเปิลเพลย์" ที่เป็นดิจิทัลเคเบิลทีวีที่ยังสร้างบริการแบบ Interactive ให้สมาชิกได้ นับจากนี้ Mission ที่เคยคิดว่า Impossible ของ CTH น่าจะ Possible มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมา | |
ผู้แสดงความคิดเห็น preecha วันที่ตอบ 2012-12-02 12:53:34 |
[1] |
Copyright © 2010 All Rights Reserved. |
![]() |
Visitors : 277573 |