![]() |
|
ประมูล "ดิจิทัลทีวี" ช่องละพันล.-ตัวเลขนี้ "กสทช." ได้แต่ใดมา? | |
ผมถูกถามจากหลายคนถึงตัวเลขการประเมินมูลค่า "ใบอนุญาตดิจิทัลทีวี" ช่องละ 1,000 ล้านบาท ที่อยู่ในเอกสารของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ บทสรุปผู้บริหาร เล่มที่ 1 กระบวนการเปลี่ยนผ่านไปสู่โทรทัศน์ระบบดิจิทัลของประเทศไทยว่ามีความเห็นอย่างไร ยิ่งค่อนข้างจะเป็นห่วงว่าการเปลี่ยนผ่านจากระบบอนาล็อกที่มีการผูกขาดในสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี 6 ช่องมาหลายทศวรรษจะกลายเป็นการผูกขาดจากกลุ่มทุนที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงโทรทัศน์ หรือกลุ่มทีวีอนาล็อกจะกวาด "ช่องทีวีดิจิทัล" ไปไว้ในมือหมด อาจจะกลายเป็นการผูกขาด "แบบพวง" คือหนึ่งเจ้าของฟรีทีวีอนาล็อกกลายมาเป็นเจ้าของดิจิทัลทีวีรายละ 5-10 ช่อง ลองเปรียบเทียบงบโฆษณาของฟรีทีวีตามตัวเลขบริษัท นีลเส็น ประเทศไทย ในเดือน เม.ย.ปีนี้ 5,526 ล้านบาท หรือประมาณปีละ 66,300 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขจาก Rate Card ที่มีส่วนลดไม่น้อยกว่า 25-30% น่าจะเป็นตัวเลขการใช้เงินโฆษณาจริงๆ ประมาณ 50,000 ล้านบาท ถ้าใบอนุญาตดิจิทัลทีวีมีมูลค่า 1,000 ล้านบาท/ใบอนุญาตมีระยะเวลา 15 ปี ลองคำนวณแบบบัญญัติไตรยางศ์เท่ากับว่าผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องสำรองเงินไว้จ่ายค่าใช้ความถี่ปีละ 66 ล้านบาท | |
ผู้ตั้งกระทู้ Admin :: วันที่ลงประกาศ 2012-11-08 16:24:43 |
[1] |
ความคิดเห็นที่ 1 (3302772) | |
เทียบออกมาแล้วต้นทุนใบอนุญาตค่าคลื่นความถี่ช่องดิจิทัลทีวีน่าจะเป็นสัดส่วนสูงที่สุด แล้วกลุ่มผู้ผลิตรายการจะเหลืองบประมาณไปผลิตรายการที่ดีๆ มีคุณภาพได้อย่างไร ? ซึ่งโดยความเป็นจริงในวันที่มีการประมูลคลื่นความถี่ช่องดิจิทัลทีวีในเดือน ส.ค.ปีหน้า 50 ช่อง ช่องฟรีทีวีแบบอนาล็อกยังอยู่ครบ 6 ช่องและช่อง 3 กับช่อง 7 จะอยู่ไปอีกเกือบ 10 ปีจนกว่าจะหมดอายุสัมปทานและคงจะไม่มีใครซื้อกล่องรับสัญญาณดิจิทัลทีวีไปไว้ที่บ้านก่อนในช่วงที่ยังไม่มีการออกอากาศดิจิทัลทีวี ในขณะที่การเข้าถึงครัวเรือนของจานดาวเทียมและเคเบิลทีวีท้องถิ่นในเดือน ส.ค. 2556 น่าจะเติบโตต่อเนื่องไปกว่า 70% ของครัวเรือนไทยหรือประมาณ 14-15 ล้านครัวเรือนจากเดือน ส.ค. 2554 ที่อยู่ประมาณ 11 ล้านครัวเรือน หรือ 50% กลุ่ม Content Provider ที่ส่วนใหญ่อยู่บนแพลตฟอร์มดาวเทียมไทยคม และ NSS 6 ที่มีอยู่กว่า 200 ช่อง น่าจะเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการเข้าประมูลคลื่นความถี่ช่องดิจิทัลทีวีมากที่สุด คงจะคิดหนักว่าจะไปเสียเงินประมูลคลื่นความถี่ช่องดิจิทัลทีวีที่จะต้องเตรียมเงินขั้นต่ำมากถึง 1,000 ล้านบาทไปเพื่ออะไร ในขณะที่การผลิตช่องทีวีดาวเทียม 1 ช่องมีต้นทุนหลักคือการลงทุนอุปกรณ์เพื่อผลิตรายการที่เป็นการลงทุนครั้งเดียวกับค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมรายเดือน แต่ถ้าเข้าประมูลดิจิทัลทีวีจะต้องมีเงินสดๆ บนหน้าตักช่องละ 1,000 ล้านบาทโดยยังต้องเตรียมเงินลงทุนอุปกรณ์และค่าเช่าใช้โครงข่ายดิจิทัลทีวีอีกมหาศาลเพื่อให้ได้คุณภาพแบบดิจิทัลหรือ HD ในขณะที่ช่วงเริ่มต้น กสทช.ยังต้องเร่งกระจายกล่องรับสัญญาณดิจิทัลทีวีที่ กสทช.กำหนดไว้ในแผนแม่บทว่าในปี 2559 ครัวเรือนไทย 80%จะสามารถเข้าถึงดิจิทัลทีวีที่ยังไม่เป็นรูปธรรมว่าจะทำได้อย่างไร เมื่อเทียบกับจานดาวเทียมกับเคเบิลทีวีในปี 2556 ที่น่าจะเข้าถึงคนดูไปแล้วกว่า 14-15 ล้านครัวเรือน และยังมีทางเลือกในการรับชมทีวีผ่านโทรศัพท์มือถือโครงข่าย 3G ได้อีก แม้ว่าจะไม่สะดวกเท่ากับดูดิจิทัลทีวีผ่านมือถือแต่เป็นทางเลือกได้เช่นกันเมื่ออยู่นอกบ้าน ลองเปรียบเทียบมูลค่าสัมปทานช่อง 3 บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) จากเดิม 20 ปีหมดอายุไปเมื่อปี 2553 ช่อง 3 จ่ายค่าสัมปทานให้อสมท 2,002 ล้านบาทโดยมีสิทธิต่อสัญญาอีก 10 ปี ช่อง 3 ยอมจ่ายเพิ่มให้ อสมท อีก 405 ล้านบาทแลกกับการต่ออายุไปอีก 10 ปีหมดอายุในปี 2563 รวมค่าสัมปทาน 2,407 ล้านบาท | |
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2012-11-08 16:25:15 |
ความคิดเห็นที่ 2 (3302773) | |
ช่อง 3 มีรายได้ต่อปีไม่น้อยกว่า 5,000-6,000 ล้านบาท จ่ายค่าสัมปทานให้ อสมท ปีละประมาณ 200 ล้านบาท แต่ถ้าใบอนุญาตคลื่นดิจิทัลทีวีต่อช่องมูลค่าขั้นต่ำ 1,000 ล้านบาท อายุใบอนุญาต 15 ปีเฉลี่ยปีละ 66 ล้านบาท โดยถัวเฉลี่ยจากทีวีดาวเทียมแต่ละช่องน่าจะมีรายได้ในระดับปีละ 50-100-150-200 ล้านบาทเท่านั้นเอง
| |
ผู้แสดงความคิดเห็น Admin วันที่ตอบ 2012-11-08 16:27:33 |
[1] |
Copyright © 2010 All Rights Reserved. |
![]() |
Visitors : 275265 |